การรักษาโรคติดเชื้อในปัจจุบันนั้นประสบปัญหาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ทำให้คณะนักวิจัยเร่งศึกษาสารชีวภาพชนิดใหม่ที่เป็นทางเลือกในการรักษาโรคติดเชื้อ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของมนุษย์ได้ในระดับโลก
โดยพบว่า “เปปไทด์ต้านจุลชีพ (Antimicrobial Peptide)” เป็นสารชีวภาพที่ได้รับความสนใจศึกษาและพัฒนาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยลดปัญหาการดื้อต่อยาปฏิชีวนะในปัจจุบัน เนื่องจากเปปไทด์ต้านจุลชีพมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติในการยับยั้งชื้อแบคทีเรียก่อโรค ขณะเดียวกันพบว่าช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาได้มีการศึกษาเปปไทด์ต้านจุลชีพอย่างกว้างขวางในกลุ่มของสัตว์หลายชนิด ได้แก่ กบ กระต่าย แมลง รวมถึงสัตว์เลื้อยคลาน
จากการศึกษาพบว่าเปปไทด์ต้านจุลชีพ สามารถพบได้ในสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่อย่าง “จระเข้” ที่มีความสามารถในการปรับสภาพร่างกายในการอยู่รอดจากสภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแหล่งที่อยู่ คาดว่าจระเข้น่าจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพสูง จึงสามารถดำรงสายพันธุ์ต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน
เปปไทด์ต้านจุลชีพถือเป็นปราการด่านแรกต่อการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกัน โดยจระเข้สามารถสร้างเปปไทด์ต้านจุลชีพแล้วปลดปล่อยออกมาในกระแสเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าองค์ประกอบของเลือด “จระเข้สยาม” ได้แก่ ซีรัม พลาสมา สารสกัดเม็ดเลือดขาว และฮีโมโกลบิน มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
นอกจากนี้ยังพบว่าโปรตีน/เปปไทด์ไนเลือด “จระเข้สยาม” มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย ได้แก่ ฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ ฤทธิ์สมานบาดแผล ฤทธิ์ต้านอักเสบ และฤทธิ์ต้านเชลล์มะเร็ง ดังนั้นเพื่อให้มีความข้าใจบทบาทและหน้าที่ของเปปไทด์ต้านจุลชีพต่อการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกันในจระเข้ เทคนิคทรานสคริปโตมิกส์ (Transcriptomics) และเทคนิคโปรติโอมิกส์ (Proteomics) จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาเพื่อให้ทราบข้อมูลชิงลึกระดับยืนและระดับโปรตีน
ซึ่งองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษานี้จะทำให้ได้ฐานข้อมูลระดับยีนขนาดใหญ่ (Big data) ที่สำคัญสำหรับการอธิบายถึงบทบาทการทำงานของโปรตีนหรือเปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยเฉพาะเปปไทด์ต้านจุลชีพในจระข้ รวมทั้งศึกษาถึงกลไกในการทำลายเชื้อจุลชีพในเชิงลึก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาใช้เปปไทด์เหล่านี้ในชิงพาณิชย์เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ
ดวงตา สามารถโฟกัสภาพได้เป็นแนวกว้างอย่างชัดเจนในระหว่างพื้นน้ำและชายฝั่ง
ทำให้มันมองเห็นเป้าหมายได้ โดยลอยนิ่ง ๆ ไม่ต้องขยับให้เหยื่อสังเกตเห็นตัวมันเลยแม้แต่น้อย
จระเข้สยามขาคู่หน้าในขณะว่ายน้ำจะแนบไปกับลำตัว
อ้างอิงข้อมูลจากโครงการวิจัยเรื่อง ดำเนินการโดย |