คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของสมาชิกทุกคนในสังคมที่พึงมีเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันได้
การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล หากผู้ใช้ขาดคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งาน จะทำให้เกิดปัญหาขึ้น ทั้งแก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติ ปัญหาทางด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่พบบ่อยครั้ง มักเป็นเรื่อง การเคารพสิทธิของบุคคล ความรับผิดชอบต่อสังคม ความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร หรือแม้กระทั่งการปิดกั้นขัดขวางให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
สื่อสังคมออนไลน์ คือ ช่องทางหลักในการติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของสังคมในยุคปัจจุบัน หลายครั้งเราเองไม่ได้มีฐานะเป็นคนเสพสื่อเพียงอย่างเดียว แต่ทำตัวเป็นผู้ตัดสินในสนามสังคมออนไลน์นั้นด้วยข้อคิดเห็น คำวิจารณ์ในพื้นที่นั้นกันอย่างสนุกมือ สนุกปาก จากจุดเริ่มต้นเพียงคิดเห็นไม่ตรงกัน กระทั่งนำไปสู่การแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งได้ตลอดเวลา
แล้วอะไรคือแนวทางที่จะช่วยให้คนไทยสามารถตั้งรับกับสภาพสังคมที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมและมีความแตกต่างขัดแย้งทางความเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในยุคที่ไม่ต้องรอรายงานข่าวจากสื่อกระแสหลัก ทุกคนเป็นผู้ส่งสารผ่านแอ็กเคาท์โซเชียลมีเดียส่วนตัวได้ เราสามารถเชื่อมั่นได้แค่ไหนว่าข่าวที่รู้มาเป็นเรื่องจริง 100% ยิ่งในช่วงที่เกิดเหตุการณ์วิกฤต หลายข่าวที่ถูกอ้างว่าเป็น ‘ข่าววงใน’ ก็จะยิ่งได้รับความสนใจและถูกส่งต่อมากขึ้นเรื่อยๆ
น่าสนใจว่าอะไรทำให้บางครั้งเราปักใจเชื่อข่าวจากกลุ่มคนที่ไม่ใช่สื่อสารมวลชน และเลือกที่จะยึดโซเชียลมีเดียและกูรูข่าววงในที่ส่งต่อกันเป็นทอดๆ เป็นข้อมูลสำคัญในการรับมือกับปัญหา แล้วประชาชนจะรู้เท่าทัน คัดกรองข้อมูลปริมาณมากๆ ในสถานการณ์อันตรายแบบนี้ได้ยังไงบ้าง
ความเสี่ยงในสังคมดิจิทัล (Risks in digital society)
การสื่อสารในยุคดิจิทัล เอื้อให้คนแปลกหน้าเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ง่ายด้วยข้อมูลที่แสดงออกในโลกไซเบอร์ ข้อมูลที่ผู้ใช้บันทึกเองนี้ได้เพิ่มความเสี่ยงให้อาชญากรนำมาเป็นฐานข้อมูลในการล่อลวงทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งต่อตัวบุคคลและลดความเชื่อมั่นในหมู่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งมาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่ไม่สามารถป้องปรามการจู่โจม หรือเยียวยาความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิผลโดยเฉพาะอาชญากรข้ามชาติ ดังนั้นการสร้างมาตรการเตือนภัยล่วงหน้าและสร้างความตระหนักรู้ อาจจะเป็นผลดีกว่าการเยียวยาเหยื่อและตามดำเนินดีอาชญากรหลังเกิดความเสียหายแล้ว
พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการ ‘หาคู่’ หรือแสวงหา ‘ความรัก’ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า ‘Romance Scam’ หรือ ‘พิศวาสอาชญากรรม’ ข้อมูลที่เราแสดงออกในโลกไซเบอร์กลายเป็นเครื่องมือให้นักต้มตุ๋นได้ใช้เทคนิคทางจิตวิทยาผ่านเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่างๆ ในการหลอกลวงให้เหยื่อ ‘หลงรัก’ จนกระทั่งยินยอมให้สิ่งต่างๆ ที่มิจฉาชีพเหล่านี้ต้องการ
คนไทยจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของความรักจอมปลอมเหล่านี้ แต่ดำเนินคดีได้น้อย เพราะเหยื่อส่วนใหญ่รู้สึกอับอาย ทำให้อาชญากรลอยนวลในโลกไซเบอร์ ว่าแต่…คุณหรือคนใกล้ชิดเคยมีประสบการณ์ รักแท้หรือแค่หวังเงิน แบบนี้บ้างหรือเปล่า ?
ภัยทางเทคโนโลยีนั้นคืบคลานเข้ามาในชีวิตประจำวัน ดังเห็นได้จากที่เราสื่อสารว่าว่ามีการหลอกลวงกันทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และได้ไปซึ่งทรัพย์สิน รวมถึงการค้าพาณิชย์ออนไลน์
ปัจจุบัน ใครๆ ก็ชอบซื้อของออนไลน์ เพราะสะดวก ซื้อง่าย แค่ใช้ปลายนิ้วคลิก โอนเงินเสร็จ ก็มีคนนำพัสดุมาส่งมอบถึงหน้าบ้าน แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้ หลายคนต้องประสบปัญหา “สินค้าไม่ตรงปก” คือ ได้สินค้าปลอมบ้าง หรือ ได้สินค้าที่คุณภาพไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ผู้ขายหลายรายขายความซื่อสัตย์ของตัวเองทิ้งด้วยสินค้าไม่กี่ชิ้น ด้วยการปิดเพจเฟสบุคและไลน์และก็เปลี่ยนชื่อไปเรื่อยๆ ซึ่งการหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ของไทยนี้ มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 4,000 ล้านบาท
‘การกลั่นแกล้ง (Bullying)’ เป็นพฤติกรรมที่ตั้งใจกระทำให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ความเจ็บปวด เพื่อให้ตนเองรู้สึกมีอำนาจ หรือมีพลังเหนือกว่าผู้อื่น ซึ่งแน่นอนว่าสังคมไม่ยอมรับพฤติกรรมรูปแบบนี้ แต่ทำไมเราจึงพบเห็นมากขึ้นในสังคมไทย
คำว่า Bully (บุลลี่) เริ่มปรากฏตามสื่อต่าง ๆ มากขึ้นในช่วงหลัง เนื่องจากสังคมเริ่มตื่นตัวกับการกลั่นแกล้ง (Bullying) ที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บตัวหรือรู้สึกแย่ โดยพฤติกรรมนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กๆ และมักถูกรังแกจากเพื่อนที่โรงเรียนหรือคนในครอบครัวอย่างพี่น้อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็กที่ถูก Bully และอาจทำให้เด็กเกลียดกลัวการไปโรงเรียน หรือมีปัญหาในการเข้าสังคมเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในที่สุด
ในปัจจุบัน Bully ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นจากวิธีเดิมๆ สื่อ และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งของคนในยุคปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทย พบว่า กลุ่มเยาวชนมากกว่าร้อยละ 50 มีพฤติกรรมกลั่นแกล้งผ่านโลกไซเบอร์และคุกคามผู้อื่นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Cyberbullying)
ความบันเทิงรูปแบบหนึ่งที่อยู่คู่วิถีชีวิตมนุษย์มาช้านาน คือ สื่อที่เรียกว่า “วรรณกรรม” การมาของสื่อในรูปแบบดิจิทัล ก่อให้เกิดการปรับและปิดตัวของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสารและหนังสือพิมพ์จำนวนมาก แต่กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวงการวรรณกรรมและมิติของการศึกษาวรรณกรรมดิจิทัลกันกว้างขวางเท่าไร อะไรคือประสบการณ์ใหม่ของ วรรณกรรมดิจิทัล ที่มอบให้แก่ผู้อ่าน และวรรณกรรมดิจิทัลจะส่งผลให้วรรณกรรมรูปแบบเดิมหายไปหรือไม่